High Barrier Packaging

บรรจุภัณฑ์ที่มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำ

บรรจุภัณฑ์ที่มีการซึมผ่านของก๊าซต่ำ (High Gas Barrier Film) ใช้ควบคู่กับ Active Packaging ต่างๆ เพื่อให้การยืดอายุอาหารทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด มีทั้งแบบฟิล์มม้วนใช้กับเครื่อง Form-Fill-Seal หรือขึ้นรูปซองสำเร็จรูปหลายรูปแบบพร้อมบรรจุอาหาร มีทั้งแบบไม่พิมพ์หรือพิมพ์กราฟิก

High Gas Barrier Film ยืดอายุสินค้าได้อย่างไร? ทำไมต้องป้องกันการซึมผ่านของก๊าซ?

  • High Gas Barrier Film เป็นฟิล์มพลาสติก ที่สามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก๊าซออกซิเจน และไอน้ำ ซึ่งมักทำปฏิกิริยากับอาหารหรือสินค้าในบรรจุภัณฑ์ ส่งผลให้เกิดการเสื่อมคุณภาพทางเคมี (เช่น ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น) และชีวภาพ (เช่น การเจริญของจุลินทรีย์) ใช้ร่วมกับ Active Packaging ชนิดต่างๆ เพื่อยืดอายุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • ตัวอย่าง High Gas Barrier Film ที่ป้องกันได้ดีทั้งก๊าซออกซิเจน และไอน้ำ เหมาะสำหรับการใช้ควบคู่กับ Oxygen Absorber, Silica Gel หรือ Ethanol Emitter เช่น ถุง K-NYLON (Polyvinyldiene Chloride-Coated Nylon), ถุงฟอลย์ หรือ ถุงลามิเนต (Laminated Aluminum Foil), ถุง EVOH (Coextrusion Ethylene-Vinyl Alcohol Copolymer) เป็นต้น
  • ตัวอย่าง High Moisture Barrier Film ที่ป้องกันไอน้ำได้ดี (แต่ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจนไม่ดี) เหมาะสำหรับยืดอายุอาหารแห้ง โดยการใช้ควบคู่กับ Silica Gel (แต่ไม่เหมาะใช้กับ Oxygen Absorber) ได้แก่ ถุง PE (Polyethylene), ถุง PP (Polypropylene) เป็นต้น
  • ตัวอย่าง ฟิล์มที่ไม่ใช่ High Gas Barrier Film หรือ High Moisture Barrier Film แต่มักเข้าใจผิดว่าเป็นฟิล์มกันก๊าซและไอน้ำ ได้แก่ ถุง PET (Polyethylene Terephthalate), ถุง Nylon (มักเรียกว่าถุงแวคคั่ม) ไม่ควรใช้ร่วมกับ Oxygen Absorber และ/หรือ Silica Gel หากจำเป็นต้องใช้ จะต้องใช้ Oxygen Absorber และ/หรือ Silica Gel ที่มีขนาดไซส์ใหญ่มากขึ้น และสามารถยืดอายุการเก็บได้ระดับปานกลาง

ข้อดีจากการใช้ High Barrier Gas Film

  • ช่วยรักษาความสดใหม่ คุณภาพ และอายุการเก็บของสินค้าได้
  • งดเว้นการใช้สารกันบูดในอาหารได้ เพื่อผู้บริโภคที่ใส่ใจกับสุขภาพ
  • สามารถทำตลาดได้กว้างไกลมากขึ้น สร้างโอกาสและขยายช่องทางการขายได้มากขึ้น
  • ช่วยลดการตีกลับของสินค้า และเสริมสร้างภาพลักษณ์อันดีให้กับสินค้า
  • ช่วยทำให้การวางแผนการผลิต การควบคุมสต็อกสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ง่ายขึ้น
  • ใช้เก็บรักษาวัตถุดิบที่มีฤดูกาล ให้สามารถผลิตและจัดจำหน่ายได้ทั้งปี
  • ช่วยลดการสูญเสียและขยะอาหารได้ (food loss and waste) ได้

ข้อแนะนำการใช้

  • ต้องปิดผนึกแบบปิดสนิท (Hermetic Seal) เช่น ปิดผนึกด้วยความร้อน เพื่อป้องกันการซึมผ่านของก๊าซผ่านผนึก
  • ตัวอย่างการปิดผนึกที่ไม่ใช่แบบปิดสนิท เช่น การปิดผนึกถุงด้วยเทปกาว ลวดเย็บประดาษ ลวดมัด ยางรัด
  • ใช้ร่วมกับการบรรจุแบบสุญญากาศ หรือแบบฟลัชก๊าซไนโตรเจนได้
  • กรุณาติดต่อทีมพนักงานขายด้านเทคนิคเพื่อให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคนิคในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีการซึมผ่านของก๊าซต่ำ